กำเนิดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ตอน Krispy Kreme

เวอร์นอน รูดอล์ฟ ผู้ก่อตั้งร้าน “Krispy Kreme” ( คริสปี้ ครีม โดนัท) ซึ่งเป็นแบรนด์โดนัทเก่าแก่อายุ 77 ปี ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1937 ถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Winston-Salem รัฐนอร์ทแคโรไลนา ทั้งยังเป็นโดนัทอันดับ 1 ของโลก ตลอดเวลาที่ผ่านมา Krispy Kreme ได้แผ่ขยายอาณาจักร ขายแฟรนไชส์ไปยังประเทศต่างๆ 

ก่อนที่จะทำการขยายกิจการสู่ภูมิภาคเอเชียตั้งแต่ปี 2004 โดยมีสาขาแรกในกรุงโซล เกาหลีใต้ ก่อนจะเห็นโอกาสในการเติบโตเมื่อปี 2006 ซึ่งขยายเพิ่มเติมไปยังฮ่องกง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ หลังจากที่ยอดขายในสองตลาดหลักสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ดำดิ่งอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น ปัจจุบันมีสาขากว่า 1,000 สาขาทั่วโลก

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูจุดกำเนิดของ Krispy Kreme แบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก เพราะถือเป็นแฟรนไชส์โดนัทที่เข้ามาตีตลาดของ มิสเตอร์โดนัทและดังกิ้นโดนัท ได้อย่างแยบยล

จุดกำเนิดแฟรนไชส์ Krispy Kreme

คริสปี้ ครีม

ภาพจาก goo.gl/33GSFE

Vernon Rudolph ได้ร่วมหุ้นกับเพื่อนๆ ก่อตั้ง Krispy Kreme Doughnut ในเดือนกรกฎาคม ปีค.ศ.1937 และได้ย้ายร้านดั้งเดิมมาที่ Historic Old Salem Winston – Salem, North Carolina โดยซื้อสูตรมาจาก เชฟชาวฝรั่งเศษ ที่เมือง New Orleans ประเทศอเมริกา การเปิดร้านครั้งแรงของ นาย Vernon Rudolph ได้ทำช่องสี่เหลี่ยมตรงกำแพง เพื่อทะลุไปข้างนอกได้ เพื่อไว้สำหรับลูกค้าที่ไม่ต้องการเข้ามาซื้อสินค้าในร้าน

ว่ากันว่าในสมัยก่อนรสชาติของ Krispy Kreme Doughnuts ของแต่ละร้านจะไม่เหมือนกัน จนถึงปีค.ศ.1950 นาย Vernon Rudolpn เริ่มต้นใช้อุปกรณ์ผลิตโดนัท และได้ส่งส่วนผสมที่เขาคิดค้นขึ้นมาไปทุกๆ ร้าน เพื่อให้มีรสชาติเหมือนๆ กันจนถึงทุกวันนี้

ปีค.ศ.1960 Krispy Kreme Doughnuts ได้รับความนิยม จนถึงต้องขยายกิจการไปตามเมืองต่างๆ จนถึงปีค.ศ.1973 นาย Vernon Rudolph ได้ถึงแก่กรรม และกิจการซบเซา ขายไม่ค่อยดี จนต้องขายกิจการให้กับ Beatric Food ในปีค.ศ.1796

จนถึงในปีค.ศ.1982 Beatric Food ได้เริ่มต้นทำ franchisees และ franchisees แรกเกิดขึ้นที่ New York ในปีค.ศ.1996 และ California เป็น franchisees ที่ 2 ซึ่งเปิดในปี 1999 จนในปีค.ศ.1997 Krispy Kreme Doughnuts ได้มีอายุ 60 ปี ถ้านับมาถึง ณ ปัจจุบันนี้ Kripy Kreme Doughnuts มีอายุ 70 กว่าปี และมีสาขาเกือบทั่วโลก

ss33

ภาพจาก goo.gl/CU4293

อย่างไรก็ตาม คริสปี้ครีมเป็นร้านโดนัทที่ก่อตั้งขึ้นที่อเมริกาเมื่อปี 1937 ที่ญี่ปุ่นนั้นเริ่มเปิดสาขาที่ 1 เมื่อเดือนธันวาคมปี 2006 โดยเปิดเป็นที่แรกที่ “สาขา Shinjuku southernterrace ที่ผ่านมา Krispy Kreme ได้รับความนิยมเนื่องด้วยการบริการส่งถึงที่ฟรีเมื่อสั่งเมนูหลักของร้านซึ่งก็คือ “Original Glazed”

จนถึงขั้นที่ต้องเข้าคิวรอเป็นชั่วโมงแม้ในวันธรรมดาก็ตาม แม้จะมีราคาที่แพงกว่าร้านโดนัทร้านอื่นถึง 2 เท่า แต่ก็มีลูกค้าให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีเรื่อยมา ขณะที่ร้านโดนัทสุดหรูที่เข้ามาบุกตลาดพร้อมกับคริสปี้ครีมอย่าง “Doughnut Plant”และ “Southernmaid” ไปไม่ได้สวย จนต้องลดจำนวนร้านลงเป็นจำนวนมาก แต่ Krispy Kreme Doughnut Japan ที่มีบริษัท Lotte เป็นผู้ดูกิจการกลับไปได้สวยและเพิ่มจำนวนสาขามากขึ้นเรื่อยๆ

ถึงแม้ดูเหมือนว่ากิจการของคริสปี้ครีมจะไปได้สวย เนื่องจากมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเข้าสู่ปี 2016 สถานการณ์กลับพลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือ สาขาคริสปี้ครีมในประเทศญี่ปุ่นเริ่มจากการปิดกิจการในเมือง Okayama (1 สาขา) ในเดือนมกราคม, Fukuoka (3 สาขา)

เรื่อยมาจนถึง Hiroshima (2 สาขา) และ Kyoto (1 สาขา) ถือเป็นการเปลี่ยนกลยุทธ์จากการขยายธุรกิจมาสู่วิถีตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง โดย ณ เดือนกุมภาพันธ์ปี 2016 ร้านสาขาของคริสปี้ครีมมีอยู่ใน 15 เมืองเป็นจำนวนทั้งสิ้น 56 สาขา

ss30

ภาพจาก goo.gl/CU4293

แม้แต่ในประเทศสหรัฐๆ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของครีสปี้ครีม ก็ต้องลดจำนวนสาขาลงเป็นจำนวนมากเหมือนกันกับที่ญี่ปุ่น คริสปี้ครีมอเมริกานั้นตั้งเป้าที่จะนำแบรนด์เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์และขยายสาขาให้ได้เป็นจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว โดยได้ร่วมมือกับยักษ์ใหญ่แห่งวงการซุปเปอร์ฯอย่าง Walmart เป็นต้น

แต่ในช่วงปี 2000 กิจการเริ่มไปไม่ได้สวย จนต้องปิดสาขาไปเป็นจำนวนมาก (240 สาขา) ปัจจุบันร้านคริสปี้ครีมในยุโรปและอเมริกากำลังเดินหน้าลดต้นทุน โดยการขายแบบไม่มีหน้าร้าน โดยเน้นไปที่การขายบนรถเข็นโดยเน้นออกร้านตามสถานีขนส่งสาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ และภายในซุปเปอร์มาร์เก็ต

ในญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน บริษัทร้านสะดวกซื้อเจ้าใหญ่ๆ เริ่มหันมาขายโดนัทที่หน้าร้านของตัวเอง และมีกลยุทธ์การตลาดที่ต่างไปจากร้านที่ขายโดนัทโดยเฉพาะ จากนี้ไปมีความเป็นไปได้ที่คริสปี้ครีม ก็อาจจะต้องหารูปแบบการขายใหม่ๆ โดยไม่ยึดติดกับการขายอยู่แต่ที่หน้าร้านของตน

Krispy Kreme ในเมืองไทย

ss35

ภาพจาก goo.gl/0d5C3A

แม้ Krispy Kreme ได้ขยายกิจการสู่ภูมิภาคเอเชียตั้งแต่ปี 2004 โดยมีสาขาแรกในกรุงโซล เกาหลีใต้ ก่อนจะเห็นโอกาสในการเติบโตเมื่อปี 2006 ซึ่งขยายเพิ่มเติมไปยังฮ่องกง อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ หลังจากที่ยอดขายในสองตลาดหลักสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ดำดิ่งอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น

แต่การเดินทางจากเอเชียสู่ประเทศไทย กลับใช้ระยะเวลานานเกือบ 5 ปี กว่าที่คนไทยจะได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางการตลาดของ Krispy Kreme กับการต่อแถวซื้อสินค้าที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

เหตุที่แฟน Krispy Kreme ในไทยต้องรอกันนานขนาดนั้น และต้องอาศัยประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างเช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ในการซื้อโดนัทแบรนด์ดังติดไม้ติดมือกลับบ้าน เป็นของฝากอย่างหนึ่งเวลาเดินทางไปต่างประเทศ เพราะเกณฑ์การเลือก Franchisee ของ Krispy Kreme ขึ้นชื่อว่าโหด และมีค่าใช้จ่ายมหาศาล

ก่อนหน้านี้ ปีเตอร์ ทวีผลเจริญ เจ้าของโดนัท Daddy Dough ก็เคยติดต่อขอซื้อแฟรนไชส์จาก Krispy Kreme มาแล้ว แต่ก็ต้องถอยร่นกลับมา แต่ในที่สุด ก็ตกมาอยู่ในมือของ อุษณีย์ มหากิจศิริ ลูกสาวคนโตของ ประยุทธ์ ที่นามสกุลการันตีได้ถึงความร่ำรวยระดับ Billionaire อันดับต้นๆ ของประเทศไทย ภายใต้ชื่อบริษัท KDN จำกัด

ss38

ภาพจาก goo.gl/PBc6PS

นอกจากเกณฑ์ในแง่ผู้ลงทุนที่ต้องมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารมาก่อนแล้ว ข้อกำหนดเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการเป็น Franchisee ที่ทำให้หลายคนต้องหันกลับมาคิดอีกรอบ คือ จำนวนเงินทุน

ก่อนอื่นต้องจ่าย Franchise Fee เป็นจำนวนเงินขั้นต่ำ 40,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมกับการการันตีว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้ 15 ปี การลงทุนในแต่ละสาขาต้องใช้งบประมาณ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ

และยังต้องหัก 6.5% จากยอดขายให้กับบริษัทแม่ Krispy Kreme ซึ่งรวมทั้งหมดแล้ว เงินทุนเริ่มต้นสำหรับธุรกิจโดนัทที่ขายในราคาเริ่มต้นชิ้นละ 27 บาท อยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 150 ล้านบาท

แต่ตามแผนที่อุษณีย์ได้วางไว้ ดูเหมือนว่าจะไกลเกินกว่า 150 ล้านบาทอยู่มาก โดยเธอเตรียมงบประมาณไว้มากถึง 500 ล้านบาท เพื่อขยายสาขาอีก 20 แห่งภายใน 5 ปี

จากปรากฏการณ์เข้าคิวกันข้ามวันข้ามคืนในวันแรกที่เปิดขายและต้องต่อแถวรออีกไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงเพื่อซื้อโดนัทในวันถัดมา น่าจะสร้างความมั่นใจและการันตีอนาคตที่สดใสให้กับอุษณีย์ และธุรกิจ Krispy Kreme ในประเทศไทยได้มาก

จะว่าไปแล้ว Krispy Kreme ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความสำเร็จที่เกิดขึ้นในธุรกิจแฟรนไชส์กับการพัฒนาสินค้าที่โดดเด่นจนเป็นที่ต้องการ และน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่อยากมีแฟรนไชส์ของตัวเอง ได้คิดค้นสูตรสำเร็จที่ผู้บริโภคมีความต้องการ นั่นคือเคล็ดลับที่สำคัญกับการก่อตั้งแฟรนไชส์ให้เกิดและเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ทั้งนี้ หลายคนก็ยังอดเป็นห่วงไม่ได้ว่า Krispy Kreme ในหลายสาขาต่างประเทศ จะเป็นเหมือนกับญี่ปุ่นหรือไม่ ที่ทยอยปิดสาขาอย่างต่อเนื่อง แม่แต่ในสหรัฐฯ และสหราชอาจักรก็ทยอยปิดสาขาต่อเนื่องเช่นกัน

มีการขายตามหน้าร้านสะดวกซื้อของตัวเอง มีการขายตามรถเข็นตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ คงต้องดูต่อไปว่า Krispy Kreme ในเมืองไทยจะมีทิศทางเป็นเช่นไร จะตามแนวทางของโรตีบอยหรือเปล่า คงต้องจับตาดูครับ ด้วยราคาที่สูงกว่าโดนัทอื่นๆ ด้วย

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/wLnENg
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ goo.gl/SUgAaL

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช