การเตรียมตัวและขั้นตอนการส่งออกสินค้าไปอาเซียน
การเตรียมตัว การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อปี 2559 เป็นการเปิดโอกาสครั้งใหญ่สำหรับผู้ประกอบการของไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่สามารถใช้โอกาสนี้ในการศึกษาและขยายธุรกิจไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งออก การนำเข้า รวมถึงใช้กลุ่มประเทศในอาเซียนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก และใช้ประโยชน์จากค่าแรงราคาถูก และสิทธิทางภาษีในการส่งออกก็ได้
ภาพจาก pixabay.com/
สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ไทย ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ขั้นตอนแรกที่ต้องทำ คือการจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อความถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยการจดทะเบียนนิติบุคคลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ บริษัทจำกัด บริษัท มหาชนจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด ทั้งนี้ต้องไม่ลืมเช็คว่าสินค้าที่ผลิตอยู่นั้นจัดอยู่ในพิกัดศุลกากร (HS) หมายเลขใด
ภาพจาก pixabay.com/
โดยสามารถปรึกษากรมศุลกากร หรือค้นหาได้ในเว็บไซต์กรมศุลกากร ที่ www.customs.go.th/tariff/tariff.jsp หลังจากนั้นควรตรวจสอบสินค้าของตนเองว่าอยู่ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวสูงของประเทศที่ต้องการส่งออกหรือไม่
โดยตรวจสอบรายละเอียดกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่ผลิตอยู่ภายใต้กฎเช่นใด ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ หรือปรึกษากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ www.thailandaec.com และกรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th
ภาพจาก pixabay.com/
ขั้นตอนถัดไป เรียกว่า พิธีการศุลกากร โดยผู้ประกอบการต้องยื่นขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อส่งให้ผู้นำเข้าที่ได้สั่งซื้อสินค้า เปรียบเสมือนบัตรประจำตัวประชาชนในการทำธุรกิจการค้าเลยก็ว่าได้
เพราะเอกสารส่วนนี้จะบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ประกอบทั้งหมด ทั้งนี้สามารถยื่นได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ หรือ สำนักงานการค้าต่างประเทศ และสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ที่ได้รับมอบหมาย ส่วนหนังสือรับรองในกรณีส่งสินค้าไปอาเซียนเรียกว่า “ATIGA FORM D”
การเตรียมตัวและขั้นตอนการส่งออก
ภาพจาก pixabay.com/
เมื่อผู้ประกอบการพร้อมและศึกษาจนมั่นใจแล้วว่า จะทำธุรกิจส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเป้าหมายโดยมีพันธมิตรดำเนินการเป็นที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนต่อมาที่สำคัญคือ การเตรียมความพร้อมเพื่อส่งออก
ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีการดำเนินการควบคู่กับพันธมิตรธุรกิจหลายรายอย่างใกล้ชิด เช่น ธนาคาร ตัวแทนนำเข้าส่งออก คู่ค้าในต่างประเทศ รวมถึงการประสานงานกับกรมศุลกากรของไทย และหน่วยงานศุลกากรของประเทศปลายทาง โดยขั้นตอนการส่งออกทั้งหมดสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้
ภาพจาก pixabay.com/
- ศึกษากฎเกณฑ์และระเบียบเกี่ยวกับการส่งออก ตรวจสอบสิทธิพิเศษและสิทธิประโยชน์ก่อนการส่งออกไปประเทศปลายทาง เช่น สิทธิประโยชน์ของสมาคมหรือสถาบัน สิทธิพิเศษทางศุลกากรของประเทศปลายทาง
- ตรวจสอบกฎหมายสินค้าส่งออกว่า สินค้าที่จะส่งออกอยู่ในกลุ่มสินค้ามาตรฐาน กลุ่มสินค้าควบคุม หรือสินค้าเสรี การตรวจสอบสินค้าจะบ่งชี้ว่าต้องจัดเตรียมเอกสารและขอเอกสารใดบ้างจากกรมศุลกากร
- ผู้ขายออกใบเสนอราคา (Quotation) ที่ระบุถึงจำนวน ราคา ระยะเวลาเตรียมสินค้า และรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่ผู้ซื้อต้องการ
- ผู้ซื้อออกใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) ไปยังผู้ขาย โดยตกลงชำระเงินผ่าน Letter of Credit (L/C)
- ผู้ขายออกเอกสาร Pro-forma Invoice เพื่อเป็นหลักฐานให้ผู้ซื้อขอเปิด Letter of Credit (L/C) ต่อธนาคารของผู้ซื้อ
- ผู้ซื้อแจ้งไปยังธนาคาร เพื่อจัดส่ง Letter of Credit (L/C) ส่งมายังธนาคารในประเทศของผู้ขาย
- ผู้ขายดำเนินการผลิตและจัดหาสินค้าเพื่อส่งมอบตามรายการที่ระบุ
- ผู้ขายตรวจสอบกำหนการส่งออก ตารางเดินเรือ และเครื่องบิน
- ผู้ขายจัดทำเอกสารเพื่อการส่งออก
- บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
- เอกสารขออนุญาตส่งออกกับกรมศุลกากรกรณีเป็นสินค้าควบคุม
- จัดทำใบรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
- หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O หรือ Certificate of Origin) ตามข้อกำหนดของประเทศผู้ซื้อ
- จัดเตรียมใบขนสินค้าขาออก ใบกำกับการขนย้าย การบรรจุสินค้าเข้าตู้ เพื่อผ่านพิธีการศุลกากร
- ผู้ส่งออกได้รับและตรวจรับสินค้า
- ผู้ขายตรวจสอบเอกสารทั้งหมด และนำไปยื่นขอขึ้นรับเงินกับธนาคาร โดยออกตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เพื่อสั่งให้ผู้ซื้อสินค้าจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินภายในเวลาที่ตกลงไว้ในสัญญา
ภาพจาก pixabay.com/
จะเห็นได้ว่าในการส่งออกนั้นมีรายละเอียดที่ต้องดำเนินการค่อนข้างมาก และต้องดำเนินการผ่านธนาคารที่ไว้ใจได้ที่มีเครือข่ายธนาคารพันธมิตรที่ครอบคลุมประเทศผู้นำเข้า และหากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมจากธนาคาร
ซึ่งปัจจุบันมีส่วนงานที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยู่แล้ว หรืออาจจะติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทโดยตรงเช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศก็ได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
ข้อมูล https://bit.ly/2LlkGkK , https://bit.ly/38e4JGO
อ้างอิงข้อมูล https://bit.ly/3zJ28SZ
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)