กับดักคนทำงาน GenLost ถูกแช่แข็งแบบตายทั้งเป็น!

ยุคสมัยเปลี่ยน! สังคมก็เปลี่ยน! ปัจจุบันมีการแยกกลุ่มประชากรออกเป็น Generation โดยใช้ช่วงปีเกิดในการกำหนด

  • Gen B (Baby Boom Generation) – กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2489-2507 (1946-1964)
  • Gen X – กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508-2522 (1965-1979)
  • Gen Y (Millennials) – กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2523-2540 (1980-1997)
  • Gen Z – คนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2541-2565 (1998-2024)

ถ้าดูเผินๆเรื่องนี้ก็ไม่น่ามีอะไรให้ตกใจก็แค่เรื่องของคนรุ่นเก่า – คนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นวิถีทางตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกที่ทั่วโลก

แต่ในญี่ปุ่นกลับแตกต่าง มีรายงานน่าตกใจที่ระบุว่าคนญี่ปุ่นวัย 40+ (อยู่ในGen Y) คนกลุ่มนี้หางานได้ยาก สู้เด็กใน Gen Z ไม่ได้ แถมยังเงินเดือนไม่โต และได้โบนัสน้อยกว่าคนวัย 20-30 อีกด้วย

กับดักคนทำงาน

ภาพจาก https://elements.envato.com

กลุ่มนี้ถูกเรียกกันว่าเป็น “เจเนอเรชันที่สูญหาย” หรือ “lost generation” ถ้าย้อนกลับไปดูจะพบข้อมูลที่น่าเห็นใจคนกลุ่มนี้มากขึ้น เนื่องจากในอดีต พวกเขาคือเด็กจบชั้นมัธยมปลายและมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถหางานทำได้เพราะผลพวงเศรษฐกิจตกต่ำหลังฟองสบู่แตก ตลาดการจ้างงานในช่วงนั้นถูกเรียกว่าเป็น “ยุคน้ำแข็ง” (ice age) ลากยาวตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 จนถึงช่วงทศวรรษ 2000 ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับ “ความไม่มั่นคง” ในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพ

แต่พอถึงปัจจุบันในยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว โอกาสในการจ้างงานมีมากขึ้น ภาคธุรกิจกลับทำในสิ่งที่ตรงข้ามคือเอาใจ Gen Z มากกว่า ทั้งให้โอกาสในการทำงาน , การปรับเงินเดือน เท่ากับว่า Gen Z ในญี่ปุ่นกลายเป็นรุ่นที่ไม่ได้รับการเหลียวแลอย่างที่ควรจะเป็น

และตลกร้ายยิ่งกว่าเมื่อมีรายงานที่ระบุว่าคนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่นมักนิยมเลือกการทำงานแบบ “ไม่เต็มเวลา” ที่คนญี่ปุ่นเรียกว่าการมีชีวิตแบบ Satori Generation” ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแบบไม่หวังรุ่ง ไม่หวังรวย ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ แถมยังมีความสนใจในการซื้อสิ่งของราคาแพงน้อยลงมาก เช่น รถยนต์ บ้าน และยอมรับราคาขั้นต่ำตามที่ต้องการ “เพื่อความอยู่รอด” เท่านั้น

ฟังดูก็เป็นเรื่องย้อนแย้งในขณะที่ภาคธุรกิจพยายามเฟ้นหา คน Gen Z มาร่วมงาน และมองข้าม คน Gen Y ถึงขนาดที่กลายเป็น lost generation แต่คนรุ่นใหม่กลับมีแนวคิดที่เน้นความเรียบง่าย ไม่ขวนขวายหาสำเร็จในชีวิตกันซะอย่างนั้น

คำถามคือทำไมคนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่นถึงมีความคิดแบบนั้น?

กับดักคนทำงาน

ภาพจาก https://elements.envato.com

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า จุดที่มนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่น แตกต่างจากประเทศอื่น คือ อุดมคติในเรื่องความทุ่มเทและอุทิศตัวเองให้กับบริษัทอย่างยิ่งยวด เรื่อยไปจนกระทั่งถึงจะต้องจัดลำดับความสำคัญของงานและนายจ้างเหนือสิ่งอื่นใด

โดยปกติทำงาน 5-6 วันต่อสัปดาห์ โดยเริ่มทำงานตั้งแต่ 09.00 น. – 17.00 น. หรือ 18.00 น. หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ดีเป็นที่ทราบกันดีว่า เหล่ามนุษย์เงินเดือนของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังคงต้องทำงานอยู่ในสำนักงานจนถึง 21.00 น. หรือ 22.00 น. เป็นอย่างน้อย

DODA เว็บไซต์บริษัทจัดหางานชื่อดังของญี่ปุ่น ระบุว่า ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาเฉลี่ยในปี 2022 ของเหล่ามนุษย์เงินเดือนญี่ปุ่นอยู่ที่ 22.2 ชั่วโมงต่อเดือน

ซึ่งถ้าดูจากข้อมูลเหล่านี้ก็ชัดเจนว่าสาเหตุสำคัญอาจมาจาก “ความเบื่อหน่าย” หรือ “ความต้องการที่จะออกจากกรอบชีวิตแบบเดิมๆ” ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่นิยมการทำงานโดยมุ่งเน้นการประสบความสำเร็จเป็นหลักเหมือนที่เคยถูกปลูกฝังกันมาในอดีต

ถ้าไปดูข้อมูลเงินเดือนของคนญี่ปุ่น มีรายงานระบุว่าค่าเฉลี่ยเงินเดือนในประเทศญี่ปุ่น ณ ปี 2023 อยู่ที่ 516,000 เยน (126,094 บาท) หรือ 6,200,000 เยน (1,515,083) ต่อปี สำหรับกลุ่มอาชีพที่มีเงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด คือ อาชีพในวงการแพทย์และการดูแลสุขภาพ โดยจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 9,220,000 เยนต่อปี (2,253,075 บาท) แต่แน่นอนว่าความเครียดสะสมจากการทำงานในสไตล์ญี่ปุ่น นั้นเป็นสิ่งที่เรารู้กันเป็นอย่างดี

ซึ่งถ้ามองในวิถีการทำงานแบบคนไทยแล้วต้องบอกว่า “ห่างกันไกล” แถมนิสัยคนไทยในการทำงานก็เทียบไม่ได้กับคนญี่ปุ่นในเรื่องของวินัย และความรับผิดชอบต่างๆ

ภาพจาก https://elements.envato.com

อันที่จริงปัญหาระหว่าง Gen y และ Gen Z ในญี่ปุ่น ก็เป็นอีกบริบทที่อาจไม่ได้ส่งผลกระทบกับธุรกิจมากจนเกินไปเพราะความเป็นชาตินิยมของญี่ปุ่น นั้นชัดเจนมาก ภาครัฐของญี่ปุ่นน่าจะหาทางออกในเรื่องนี้ได้ไม่ยาก แตกต่างจากสังคมไทยที่ตอนนี้มองแล้วยังน่าห่วงยิ่งกว่า ไหนจะเศรษฐกิจที่ไม่นิ่ง การเมืองที่ไม่แน่นอน ประชาชนมีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ยาก และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นตอนไหนอีกด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด