“กล้อง – อาริยะ คำภิโล” ราชาโจนส์สลัด จากชานมไข่มุกสู่เส้นทางธุรกิจสุขภาพ

“กล้อง – อาริยะ คำภิโล” หนึ่งในนักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเจ้าของร้าน Jones’ Salad ราชาโจนส์สลัด ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยจำนวนสาขา 14 แห่งทั่วเมืองกรุง จุดเริ่มต้นของแนวคิดจนเกิดเป็นแรงบันดาลใจของผู้ชายคนนี้

สู่ก้าวแรกของเส้นทางแห่งความสำเร็จของร้าน Jones’ Salad ไม่เพียงแค่เพียงหน้าร้านบนโลกออฟไลน์เท่านั้น แต่บนโลกออนไลน์เขาก็ยังสร้างเพจเฟซบุ๊กให้ความรู้ด้านสุขภาพ จนมียอดคนติดตามมากกว่าหนึ่งล้านคนอีกด้วย

ราชาโจนส์สลัด

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากการสัมภาษณ์ “คุณกล้อง – อาริยะ คำภิโล” มานำเสนอให้ทราบครับ

ก้าวแรกของเส้นทางธุรกิจ…ชานมไข่มุก

70

หลายคนอาจคิดว่าร้าน Jones’ Salad เป็นธุรกิจเริ่มแรกของคุณกล้อง แต่จริงๆ เป็นธุรกิจชานมไข่มุกที่กำลังเฟื่องฟูเมื่อสมัยที่เขาเรียนจบคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนนั้นเขามีอายุเพียง 22 ปี จบออกมาก็ก้าวสู่วงการธุรกิจเลย เพราะเขาเกิดมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาก่อนจึงมีแรงบันดาลใจอยากมีเงินมีรายได้

69

ภาพจาก facebook.com/BuddyBearCafe/

บังเอิญว่าในตอนนั้นคุณกล้องมีเพื่อนเป็นชาวไต้หวันเรียนอยู่มหาวิทยาลัยรังสิต ประเทศต้นกำเนิดของชานมไข่มุกพอดี และเขามองว่าธุรกิจชานมไข่มุกจะมาแน่ๆ ในเมืองไทยเพราะกระแสแรงอย่างมาก หลังจากนั้นก็ตัดสินใจร่วมหุ้นกับเพื่อนเปิดร้านชานมไข่มุกชื่อ “Buddy Bear” ก่อนขยายเป็น 5 สาขา ด้วยจังหวะถูกที่ถูกเวลา และไม่ค่อยมีคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน ทำให้ธุรกิจได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างรวดเร็ว และเฟื่องฟูในระดับก้าวกระโดด สามารถคืนทุนในไม่กี่เดือน

68

ภาพจาก facebook.com/BuddyBearCafe

เป็นธรรมดาของนักธุรกิจทุกคน เมื่อธุรกิจเติบโตได้รับความนิยม จึงต้องเร่งขยายกิจการอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับคุณกล้องหลังจากที่ธุรกิจชานมไข่มุกได้รับความนิยมและผลตอบรับดี ทำให้เขาเร่งขยายสาขามากขึ้น ผลสุดท้ายไม่เป็นดั่งที่เขาคิด เพราะสาขาหลังๆ เริ่มจะไม่มีกำไรและคืนทุนได้เหมือนกับสาขาแรกๆ สุดท้ายคุณกล้องก็ต้องถอนหุ้นและเดินออกจากธุรกิจชานมไข่มุก นำเอาบทเรียนการทำธุรกิจชานมไข่มุกมาเป็นจุดย้ำเตือนใจให้กับเขาทุกครั้งก่อนจะคิดทำธุรกิจ

วิกฤติชีวิตนำพาสู่ธุรกิจสุขภาพ Jones’ Salad

67

ภาพจาก https://jonessalad.com/

หลังจากคุณกล้องเดินออกจากธุรกิจชานมไข่มุกไม่กี่ปี ก็พบว่าตัวเองเป็นเนื้องอกที่ขา หาสาเหตุไม่ได้ คุณหมอได้แนะนำให้ผ่าออกโดยเร็วที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นเนื้องอกก้อนนั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาอีก มีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่จะช่วยคุณคุณกล้องได้ คือ การดูแลสุขภาพ ซึ่งในตอนนั้นนับว่าเป็นความโชคดีของคุณกล้อง

เพราะแฟนสาวได้มีโอกาสไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย และได้ไปอยู่บ้านญาติที่มีน้าเขยเป็นคนที่นั่น ระหว่างนั้นแฟนสาวของเขาก็คอยบอกเล่าวัฒนธรรมการกินของคนออสเตรเลียที่ชื่นชอบการกินสลัดจนมีร้านสลัดเปิดขึ้นมาหลายแห่ง รวมไปถึงฝีมือทำสลัดของน้าเขยที่แสนอร่อย ขณะนั้นคุณกล้องก็เกิดแนวคิดขึ้นมาได้ว่า “ร้านสลัด” นับเป็นตัวเลือกของธุรกิจที่น่าสนใจ

66

ภาพจาก facebook.com/JonesSaladThailand/

ด้วยข้อดีของการเรียนเศรษฐศาสตร์ คุณกล้องได้ใช้ประโยชน์ของวิชาที่ร่ำเรียนมาวางแผน หากจะเปิดร้านสลัดก็ต้องใช้ผักสดที่ดีต่อสุขภาพและทำได้ที่ครัวกลาง แล้วส่งให้แต่ละสาขาโดยไม่ต้องดูแลกระบวนการทั้งหมดด้วยตัวเอง อย่างเรื่องการจัดเตรียมวัตถุดิบ ก็ให้เชฟมาช่วยดูแลในส่วนนี้แทน ส่วนตัวเขาก็ทำในสิ่งที่ถนัดอย่างการวางแผน และการวางระบบ

เมื่อความคิดตกผลึก เขาจึงเดินทางไปออสเตรเลียเพื่อลิ้มลองรสชาติสลัดที่ “น้าโจนส์” น้าเขยของแฟนสาวเป็นคนทำ เมื่อได้ชิมก็รู้สึกว่าอร่อย นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของสูตรสลัดร้าน Jones’ Salad โดยเปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าจามจุรีสแควร์

โปรโมชั่น…คัมภีร์หน้าแรกของการเปิดร้าน

65

ภาพจาก https://jonessalad.com/

ช่วงการเปิดร้านใหม่ๆ คุณกล้องอยากทำให้ร้านสลัดเป็นที่รู้จัก จึงจัดโปรโมชั่นสุดโต่ง คือ กล่อง 1 ใบ บรรจุด้วยลูกปิงปองจำนวน 10 ลูก 5 ลูกเขียนว่า “จ่าย” อีก 5 ลูกที่เหลือเขียนว่า “ฟรี” โดยลูกค้าต้องจ่ายเงินก่อน แต่ถ้าจับได้ลูกปิงปองที่เขียนว่าฟรี ทางร้านก็จะคืนเงินให้ ถือเป็นโปรโมชั่นที่เพิ่มความวุ่นวายให้กับทางร้าน แต่กระแสตอบรับค่อนข้างดี

หลังโปรโมชั่นหมดทำให้ร้าน Jones’ Salad ต้องมุ่งเน้นในเรื่องของคุณภาพ จนกระทั่งมีฐานลูกค้าประจำมาอุดหนุนใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ เรียกได้ว่าธุรกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่อีกไม่นานก็ต้องปิดสาขาแรกจามจุรีฯ เพราะเจ้าของพื้นที่ขึ้นค่าเช่าจากราคาเดิมเป็นสิบเท่า อีกทั้งยังต้องแบ่งเปอร์เซ็นต์จากยอดขายให้เจ้าของพื้นที่ด้วย

ถึงเวลา…ก้าวสู่การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง

64

ภาพจาก facebook.com/JonesSaladThailand/

หลังจากคุณกล้องได้อีกหนึ่งบทเรียนจากการเปิดร้านสาขาแรก ก้างต่อไปของการทำธุรกิจ ก็คือ การสร้างแบรนด์ร้าน Jones’ Salad ให้แข็งแกร่งเหมือนกับแฟรนไชส์ร้านฟาสต์ฟู้ดหลายๆ แบรนด์ในเมืองไทย โดยหลังจากปิดสาขาแรกคุณกล้องได้ย้ายไปเปิดที่เอสพลานาด รัชดาฯ หลังจากนั้นวางแผนเปิดเพิ่มอีก 3-5 สาขา และปรับรูปแบบธุรกิจใช้ระบบครัวกลางเพื่อดูแลเรื่องวัตถุดิบ ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเชฟ และหันมาเน้นครัวกลางแทน ทำให้มีค่าใช้จ่ายพอที่จะใช้หมุนเวียนให้กับทุกสาขา และยังทำให้คุณกล้องสามารถควบคุมมาตรฐาน และคุณภาพของวัตถุดิบทุกสาขาได้ด้วย

จากออฟไลน์ก้าวสู่โลกออนไลน์

63

ภาพจาก facebook.com/JonesSaladThailand/

คุณกล้องได้สร้างเพจเฟซบุ๊กเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ โดยเริ่มตั้งแต่ DNA ของ Jones’ Salad ลุงโจนส์ที่จะมาเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ (Influencer) คอยตอบคำถามให้กับทุกคนในเพจ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้ไปฟังสัมมนาซึ่งมีประโยคหนึ่งที่จำขึ้นใจเลยคือ การที่ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้น ธุรกิจจะต้องสร้างประโยชน์ให้แก่คนอื่นด้วย จึงเริ่มทำคอนเท้นต์ที่ทำให้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของเพจ Jones’ Salad เมื่อปี 2016

กลยุทธ์ปรับตัวรอดยุคโควิด…Jones’ Salad

62

ภาพจาก facebook.com/JonesSaladThailand/

คุณกล้องให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบจากโควิด-19 ว่า ก่อนการระบาดโควิด-19 ร้านโจนส์สลัดมียอดขายเป็นอย่างดี เตรียมขยายสาขาไปหลายๆ ที่ มีการลงทุนทำครัวกลาง รับพนักงานเพิ่มในแต่ละตำแหน่ง รองรับการขยายธุรกิจ

พอเกิดการระบาดโควิด-19 ช่วงแรกๆ ส่งผลกระทบต่อยอดขายลดลงบ้างเล็กน้อย คุณกล้องคิดว่าน่าจะสามารถบริการจัดการธุรกิจผ่านไปได้ แต่กลับทำให้ยอดขายลดลงไปกว่า 80% ก่อนที่ภาครัฐจะประกาศล็อกดาวน์ เมื่อรัฐออกมาตรการปิดห้างสรรพสินค้าทำให้หลายร้านๆ รู้สึกตกใจ ประกาศแค่ชั่วค่ำคืน ไม่ทันได้ตั้งตัว

61

ภาพจาก facebook.com/JonesSaladThailand/

ในตอนนั้นคุณกล้องทำการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน บริหารจัดการสต็อกวัตถุดิบที่เหลือ แบ่งหน้าที่พนักงานให้เข้ากับสถานการณ์โควิด-19 เพื่อความอยู่รอด วัตถุดิบในช่วงปิดห้างเน้นการขายออนไลน์เพราะมีเพจเป็นของตัวเอง มีฐานกลุ่มลูกคาที่คอยติดตามแฟนเพจให้การสนับสนุน จึงทำให้ร้านโจนส์สลัดโดยรวมไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ระบายวัตถุดิบไปได้บ้าง จึงหาช่องทางเดลิเวอรี่ และให้ลูกค้าซื้อกลับบ้าน

เพราะข้อดีคือสินค้าสลัดของร้านสามารถเดลิเวอรี่ได้ดี เพราะทำมาก่อนการระบาดโควิด-19 จึงไม่ต้องทำการปรับตัวอะไรมากนัก ลูกค้าที่ไม่ได้ออกจากบ้านก็สามารถสั่งเดลิเวรี่จากร้านได้

“ช่วงแรกตกใจ แต่พอทำเดลิเวรี่ก็ปรับตัวได้ง่าย เพราะมีประสบการณ์ด้านเดลิเวอรี่มาก่อน ยอดขายค่อยๆ ดีขึ้นมา ช่วงกลางปี เริ่มวางแผนขยายสาขาจาก 9 สาขา เพิ่มเป็น 15 สาขา ถือเป็นการทำตามแผนที่วางเอาไว้ตั้งแต่แรก หากยอดขายเพิ่มขึ้น แม้การระบาดโควิด-19 จะไม่คลี่คลาย ระลอกแรกขยายสาขาไม่ได้รับกระทบมากนัก”

60

ภาพจาก facebook.com/JonesSaladThailand/

อย่างไรก็ตาม โควิดระลอก 3 ไม่ใช่คู่แข่งในตลาดเดียวกันของโจนส์สลัด แต่เป็นนโยบายภาครัฐที่ต้องการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 สั่งปิดห้างสรรพสินค้าจนทำธุรกิจแทบไม่ได้ เดลิเวอรี่ไม่ได้ ร้านกว่า 80% ก็ปิดหมด เปิดได้เฉพาะร้านนอกห้าง หลังจากร้านปิดในห้างคุณกล้องรีบลงมือทำคลาวด์คิดทเช่น 2 แห่งในวันเดียว เช่าพื้นที่ตึกแถวนอกห้าง เพื่อระบายวัตถุดิบ รวมถึงต้องการให้พนักงานได้กลับมาทำงานอีกครั้ง พูดง่ายๆ คือ คุณกล้องอยู่ได้ พนักงานก็ต้องอยู่รอด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iaMOHk


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช