กลยุทธ์ Hotelling model เปิดร้านข้างคู่แข่ง มีแต่เจ๊งกับเจ๊ง จริงมั๊ย?
เชื่อว่าหลายคนเคยเห็นร้านค้าหรือธุรกิจประเภทเดียวกันเปิดอยู่ใกล้ๆ กันทั้งที่เป็นคู่แข่งกัน ไม่ว่าจะเป็นธนาคารในห้าง ปั้มน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ มินิบิ๊กซี 7-Eleven CJ หรือร้านไอศกรีมและชาจากจีน MIXUE กับ Bing Chun
ปัจจัยสำคัญทำให้สถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาจากทฤษฎี Hotelling model of spatial competition หรือ แบบจำลองของการแข่งขันที่พื้นที่เชิงพาณิชย์ ในแง่ของมุมมองทางการตลาด การตั้งร้านใกล้กันสามารถช่วยเพิ่ม Traffic ให้กับร้านได้ เพราะร้านที่มีลักษณะคล้ายกันมักดึงดูดลูกค้ากลุ่มเดียวกันหรือใกล้เคียงกันได้ ช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกและเพิ่มโอกาสอยู่พื้นที่นั้นมากขึ้น
กฎเบื้องต้นของแบบจำลอง Hotelling model ร้านค้าที่ตั้งอยู่ใกล้กลุ่มลูกค้าเดียวกันจะมีโอกาสขายสินค้าได้มากกว่าร้านที่ตั้งอยู่ร้านเดียว ไม่มีคู่แข่ง ไม่มีร้านแบบเดียวกัน เพราะไม่ใช่จุดหมายปลายทางที่ลูกค้าจะไป หรือเป็นย่านของสินค้าที่จะซื้อ เหมือนกับเวลาเราจะซื้อทอง ถามว่าทำไมหลายๆ คนต้องไปเยาวราช ลูกค้าเป้าหมายของร้านค้าที่ขายของเหมือนกัน จะเลือกซื้อในร้านที่ตั้งใกล้สุด เพื่อสะดวกในการเดินทาง คิดเพียงว่าเข้าไปซื้อสินค้าร้านไหนก็ได้สินค้าเหมือนๆ กัน
หากลูกค้าอยากลองสินค้าจากอีกร้านหนึ่งข้างๆ กัน ก็ทำได้ ไม่ต้องเดินทางไกล เพราะทฤษฎี Hotelling model สามารถช่วยให้ร้านที่อยู่ข้างๆ กันมีโอกาสเพิ่มยอดขายจากร้านคู่แข่งได้ เพราะจากเดิมที่ลูกค้าจะเดินเข้าร้านคู่แข่งอย่างไม่ลังเล แต่พออีกวันหนึ่งร้านของคุณไปเปิดอยู่ข้างๆ ลูกค้าที่เคยไปซื้อร้านคู่แข่งปกติอยู่แล้ว ก็จะเริ่มลังเลและอยากลองซื้อสินค้าจากร้านคุณบ้าง ยิ่งถ้าหากสินค้าหรือบริการในร้านของคุณดีกว่า ก็จะเพิ่มโอกาสดึงลูกค้ากลุ่มนี้มาเป็นลูกค้าประจำ
ในมุมมองของนักการตลาด ร้านค้าประเภทเดียวกันที่เปิดอยู่ข้างๆ หรือติดกันนั้น จะช่วยสร้างฐานกลุ่มลูกค้าที่คล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น 7-Eleven กับ CJ (Supermarket, More, CJX) ทั้ง 2 ร้านมีสินค้าและบริการที่เหมือนกัน มีฐานลูกค้ากลุ่มเดียวกัน ถ้าถามว่าทำไมช่วงหลังๆ เรามักจะเห็นร้าน CJ ไปเปิดอยู่ใกล้ๆ หรือติดกับร้าน 7-Eleven แบบว่าไม่กลัวจะเจ๊งกันเลย
สาเหตุที่ร้าน CJ กล้าไปเปิดใกล้ๆ ร้าน 7-Eleven ก็เพราะ CJ รู้แล้วว่ามีฐานกลุ่มลูกค้าอยู่ตรงนั้น เป็นฐานกลุ่มลูกค้าที่ไปซื้อสินค้าในร้าน 7-Eleven เป็นประจำ ซึ่งหากเปิดร้านใกล้ๆ กัน แม้จะต้องแย่งยอดขายกันเอง แต่ในเมื่อที่ที่ลูกค้าอยู่มากที่สุดคือตรงนั้น จึงทำให้ CJ ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปเปิดร้านที่ทำเลอื่น เหมือนกับว่า 7-Eleven หาลูกค้าไว้รอแล้ว เพียงแต่ว่าใครจะทำได้ดีกว่ากันเท่านั้น ไม่ต่างจากร้านฟาสต์ฟู้ดในห้าง เช่น KFC และ McDonald’s หากลูกค้าใช้บริการร้าน KFC บ่อยแล้ว ก็อาจจะอยากลองแมคโดนัลด์ที่ตั้งใกล้เคียงกันบ้าง โดยที่สินค้าและราคาใกล้เคียงกัน
อีกหนึ่งตัวอย่างล่าสุด ร้าน MIXUE ที่เข้ามาเปิดตลาดในไทยตั้งแต่กลางปี 2565 มีสาขาแล้วกว่า 200 สาขาในไทย ถือเป็นพี่ใหญ่ของร้านไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน เป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในไทย แต่ก็มีแบรนด์น้องใหม่จากจีน Bing Chun เปิดตัวสาขาแรกเมื่อกลางเดือน ส.ค. 2567 ที่แฟชั่นไอส์แลนด์ ขยายสาขาเพิ่มติดกับร้าน MIXUE ในห้างยูเนี่ยน มอลล์ ชนิดที่ว่าไม่กลัวแบรนด์รุ่นพี่อย่าง MIXUE เลย อาจเป็นเพราะ Bing Chun มองว่ามีฐานลูกค้าอยู่ตรงนั้น เป็นทางเลือกได้
กลยุทธ์การตลาดแบบ Hotelling Model กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ นับว่าเป็นอีก 1 วิธีในการเพิ่มยอดขายให้กับร้านได้ด้วย ไม่ต้องเหนื่อยในการวิเคราะห์ทำในการเปิดร้าน ร้านคู่แข่งสร้างฐานลูกไว้แล้ว เมื่อไปเปิดข้างๆ กันแล้ว มีโอกาสที่ลูกค้าอาจจะตัดสินใจซื้อทั้ง 2 ร้านเลยก็ได้ หรือไม่แน่อาจจะเปลี่ยนใจมาเป็นลูกค้าประจำร้านคุณก็ได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)