กลยุทธ์ “ลดสาขา” ตัดต้นทุนสูญเปล่าเพื่อเพิ่มรายได้

ธุรกิจเมื่อโตแล้วควรจะขยายสาขา มีข้อดีในหลายด้านเช่น เป็นโอกาสในการสร้างรายได้ที่ดีกว่าเดิม , ลดความเสี่ยงในการขาดทุน , โอกาสในการเพิ่มลูกค้าใหม่ , เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้อย่างดี ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจที่มีสาขามากย่อมเป็นที่รู้จักของคนมากขึ้นด้วย และยังแสดงให้เห็นถึงขนาดของธุรกิจที่ใหญ่และมีอำนาจในการต่อรอง อาจมองไปถึงการเป็นเจ้าแห่งตลาดนั้นๆได้เลยทีเดียว

แต่ในโลกของความเป็นจริงเมื่อธุรกิจมันเกิดไม่โตไปตามเป้า บางทีการดันทุรังมีสาขามากๆ จากแทนที่จะสร้างรายได้บางทีอาจกลายเป็นการเพิ่มภาระให้ธุรกิจก็เป็นได้ อย่างไรก็ดีเราไม่ได้เหมารวมในเรื่องของธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีความแตกต่างไปเพราะระบบแฟรนไชส์ การขยายสาขาเพิ่มคืองบลงทุนของคนที่สนใจอยากลงทุนกับแฟรนไชส์ โดยมีแฟรนไชส์ซอคอยเป็นพี่เลี้ยง สนับสนุนในเรื่องวัตถุดิบ การฝึกอบรม ระบบการบริหารจัดการต่างๆ

ถ้าจะอธิบายให้ลึกซึ้งลงไปอีกนิด ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ยิ่งมีสาขาเพิ่มก็ยิ่งเป็นผลดี เนื่องจากเป็นผลทางกลยุทธ์ตลาดที่เรียกว่า Economies of Scale คือ การที่บริษัทหนึ่ง สามารถกดต้นทุนเฉลี่ยให้ถูกลงได้ ด้วยการเพิ่มปริมาณการผลิต โดยสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิด Economies of Scale ก็คือ การผลิตให้ได้ปริมาณมาก ๆ นั่นก็หมายถึงว่ายิ่งมีสาขามาก การผลิตวัตถุดิบก็ยิ่งได้ต้นทุนที่ถูกลง เป็นต้น

ลดสาขา

ตัวอย่างเรื่องนี้ชัดเจนที่สุดคือ มี่เสวี่ย ที่ใช้กลยุทธ์การขยายสาขาให้มาก ช่วยให้บริษัทกดต้นทุนได้ถูก จนนำไปสู่การขายสินค้าในราคาถูก ๆ ได้แล้ว ยังช่วยให้มีอำนาจต่อรองกับซัปพลายเออร์ มากขึ้น แถมยังได้ระยะเวลาชำระคืนเจ้าหนี้ที่ยาวนานขึ้นเพราะสามารถยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ ให้กับซัปพลายเออร์ได้ เป็นผลดีในเรื่องการบริหารจัดการการเงินที่มีความคล่องตัวสูงมาก

ดังนั้นการ ลดสาขา เพื่อตัดต้นทุนสูญเปล่าจึงเป็นเรื่องของธุรกิจที่ดำเนินการขยายสาขาเอง และเมื่อผลประกอบการไม่เป็นใจ หรือมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องทำให้การ ลดสาขา เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการผลักดันองค์กรให้เดินหน้าต่อไปได้

ถ้าจะถามว่าเมื่อใดที่ธุรกิจควรลดสาขา ก็ต้องไปดูในหลายปัจจัยมาเป็นองค์ประกอบ เช่นเรื่องของรายได้และต้นทุนการขาย ซึ่ง รายได้และต้นทุนขายจะมาคู่กัน และแยกไปแต่ละประเภทธุรกิจ เนื่องจากแต่ละธุรกิจมีวิธีบันทึกรายได้ไม่เหมือนกัน ลักษณะต้นทุนจึงไม่เหมือนกันด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดกับกลายยอมตัดลดสาขาแต่ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น

ลดสาขา
ภาพจาก https://itcity.co.th

IT CITY สินค้ากลุ่มไอทีที่มีมานานกว่า 29 ปี เคยมีสาขามากที่สุดถึง 342 สาขา แต่ช่วง 3-4 ปีทีผ่านมา IT CITY มีการปรับโครงสร้างในส่วนของช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ด้วยการปิดสาขาที่ Performance ไม่ถึงกำหนดเพื่อลดต้ดทุนลง จนปัจจุบัน IT CITY เหลือสาขาทั้งสิ้น 330 สาขาแต่กลับมีรายได้สวนทางมากขึ้น มี 3 กลุ่มสินค้าที่ทำกำไรมากที่สุดคือ Smartphone/ Tablet 48% , IT Devices 20% และ Smartphone/ Tablet Accessory 16% เป็นต้น

รวมด้านมืดธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย

หรือ Texas Chicken แบรนด์ร้านฟาสต์ฟู้ดในเครือโออาร์ (OR) ประกาศปิดกิจการ Texas Chicken ทุกสาขา อันเนื่องเป็นผลมาจากการลดลงของรายได้ถ้าดูจำนวนสาขาก่อนประกาศปิดกิจการมีการลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตัดจบต้นทุนทางธุรกิจที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าในระยะยาวได้

มาตรการ “ลดสาขา” อาจเป็นอีกหนึ่งวิธี “รัดเข็มขัด” แต่ก็ไม่ได้หมายความธุรกิจนั้นๆ จะต้องวิกฤติเสมอไป บางธุรกิจอาจมีการขยายสาขาที่มาถึงจุดอิ่มตัว ยกตัวอย่าง HomePro ที่มูลค่าบริษัทหายไปประมาณ 50% สวนทางกับรายได้และกำไรของบริษัทที่เพิ่มขึ้น เหตุผลก็เนื่องมาจากการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิมลดลง

ลดสาขา
ภาพจาก https://bit.ly/3CDX74n

รวมถึงการขยายสาขาของ HomePro นั่นถึงจุดอิ่มตัว โดยสังเกตว่า HomePro ได้เร่งขยายสาขา จนเกือบจะครอบคลุมกรุงเทพฯ และหัวเมืองหลักแล้ว วิธีแก้ไขคือบริษัทได้หันมาเน้นการขยายสาขาของ Mega Home มากขึ้น เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การรักษาการเติบโต และกระจายความเสี่ยง โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างจาก HomePro มากขึ้นด้วย

ในปี 2568 นี้ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจยังมีรอบด้าน ก็ต้องมาวัดพลังกันว่าในแต่ละธุรกิจจะมีการบริหารจัดการแบบไหนอย่างไร เพื่อพัฒนาองค์กรให้เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลายธุรกิจยังคงเดินหน้าขยายสาขาเพราะมองว่าตลาดยังไปได้ไกล ขณะที่อีกหลายธุรกิจโฟกัสในเรื่องของคุณภาพและบริการ ไม่เน้นการขยายสาขามากเกินไป ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และแนวคิดไอเดียทางการตลาดของแต่ละแบรนด์เป็นสำคัญด้วย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด