กลยุทธ์ลดราคา! ร้านค้าปลีกปั้น House Brand ถัวเฉลี่ยให้ได้กำไร

เชื่อว่าหลายคนเคยใช้สินค้า House Brand (ตรายี่ห้อร้าน) แล้วถ้าถามว่าที่ใช้หรือซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ เพราะราคาถูกหรือความชอบส่วนตัว น่าจะมีทั้ง 2 อย่าง แต่ปัจจุบันหลายๆ ยี่ห้อคุณภาพไม่แพ้แบรนด์ใหญ่ด้วยซ้ำ

ทำไมร้านค้าปลีกต้องมีสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ เพราะสินค้าเฮ้าส์แบรนด์เป็นตัวถัวเฉลี่ยในเรื่องของการทำกำไร จะเห็นได้ว่าร้านค้าปลีกต่างๆ แข่งขันกันด้านการลดราคา บางครั้งอาจต้องยอมขาดทุนในการขายสินค้าบางชิ้น เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้าน แล้วหาวิธีทำกำไรจากส่วนอื่น ทั้งค่าฟี โปรโมชั่น และอื่นๆ เพื่อถัวเฉลี่ยให้ได้กำไรตามเป้าหมาย

ปกติแล้วร้านค้าปลีกมักจะมีอัตราการทำกำไรสุทธิค่อนข้างต่ำราวๆ 3-4% วิธีเพิ่มอัตราทำกำไร คือ การขายสินค้าแบรนด์ตนเอง เพราะร้านค้าปลีกจะได้กินกำไรเหมือนเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ขายในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าร้านค้าปลีกสวมหมวก 2 ใบ คือ เป็นร้านค้าปลีก และเจ้าของสินค้าด้วย ดังนั้น การขายสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมากสำหรับร้านค้าปลีก

House Brand

ประโยชน์ของการทำสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ จะเป็นตัวสร้างความแตกต่าง และสร้าง Store Loyalty เมื่อคนติดแบรนด์ไปแล้ว แล้วรู้ว่ามีขายแค่ที่นี่เท่านั้น ก็จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจมาที่ร้านค้าปลีกของเราได้แบบไม่ลังเล

สำหรับภาพรวมการเติบโตสินค้า House Brand ในต่างประเทศ จากผลสำรวจของ McKinsey ปี 2566 พบว่า ผู้บริโภค 36% ต้องการซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ เพราะทดลองใช้แล้วรู้สึกว่า สินค้ามีคุณภาพดีเทียบเท่า หรือดีกว่าสินค้าแบรนด์อื่นๆ

นอกจากนี้ยังพบว่า สัดส่วนของสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ในหลายประเทศยุโรปเพิ่มขึ้น 1.9% มีส่วนแบ่งตลาดของร้านค้าปลีกเพิ่มขึ้น 1.4% สะท้อนให้เห็นว่าสินค้าเฮ้าส์แบรนด์มีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

House Brand

สำหรับในไทย พบว่า คนไทยซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์เพิ่มขึ้นจากเดิม 4% ในปี 2564 เป็น 6% ในปี 2565 แสดงให้เห็นว่าสินค้าเฮ้าส์แบรนด์เป็นสินค้าคุณภาพดี และชี้ว่าคนไทยเลือกซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ที่เป็นกลุ่มพรีเมียมมากขึ้นกว่าเท่าตัว โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพควบคู่กับราคาที่เข้าถึงได้

สินค้าเฮ้าส์แบรนด์ที่ร้านค้าปลีกวางขายเอง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งน้ำดื่ม อาหาร น้ำยาล้างจาน และอื่นๆ หลายแบรนด์ ส่วนใหญ่ราคาถูกกว่าสินค้าแบรนด์ใหญ่ที่รับมาขาย ที่ขายถูกเพราะได้เปรียบด้านต้นทุน เพราะร้านค้าปลีกไม่ต้องเสียค่าเช่าวางขายให้กับตัวเอง ไม่ต้องโฆษณา ทำการตลาด ทำให้ขายได้ราคาถูก แต่ถัวเฉลี่ยทำกำไรให้ร้านได้

ภาพจาก https://bit.ly/3TUmlRp

ความนิยมในสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ในไทยเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะราคาถูก แถมหลายๆ ยี่ห้อคุณภาพดีด้วย ไม่แปลกที่ล่าสุด CP จับมือ KAO บริษัท คาโอ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) เจ้าของแบรนด์สินค้าอุปโภคหรือสินค้าประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน ที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น น้ำยาซักผ้าแอทแทค น้ำยาทำความสะอาดเมจิกคลีน ยาสระผมแฟซ่า น้ำยาล้างเครื่องสำอางบิโอเร ฯลฯ

สิ่งที่ CP และ KAO จะทำร่วมกัน เช่น ผลิตสินค้าอุปโภคที่เป็นเฮ้าส์แบรนด์ของ CP ขายในร้านค้าเครือ CP ทั้ง 7-Eleven, Lotus’s และ Makro คาดว่าจะเริ่มขายได้ตั้งแต่ปี 2568 เชื่อว่าตลาดสินค้าเฮ้าส์แบรนด์แข่งกันรุนแรงแน่

ภาพจาก https://bit.ly/47PUGXw

ต้องจับตาดูกันต่อว่าร้านค้าปลีกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Big C, Lotus’s, Tops หรือ 7-Eleven จะเดินหน้าทำเฮ้าส์แบรนด์หนักหน่วงแค่ไหน เพราะถ้าไม่ทำคู่แข่งก็ทำ สุดท้ายก็จะถูกแย่งลูกค้าไป หากปรับราคาสินค้าขึ้น ลูกค้าก็ไปเข้าร้านอื่นทันที

ดังนั้น วิธีแก้เกมของร้านค้าปลีกเหล่านี้ คือ เพิ่มจำนวนสินค้าเฮ้าส์แบรนด์มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสินค้าเฮ้าส์แบรนด์มีจุดขายที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำ แทบไม่มีค่าโฆษณาและการตลาด ทำให้ขายราคาถูกกว่าแบรนด์ชั้นนำราวๆ 20-30% แม้จะขายราคาถูกกว่า แต่ทางร้านยังมีกำไรดีกว่า จากการนำมาถัวเฉลี่ยกำไรที่น้อยลงจากการลดราคาขายสินค้าแบรนด์ชั้นนำ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช