กลยุทธ์ธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์
การเริ่มต้นสร้างระบบแฟรนไชส์นั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย เพียงแต่เจ้าของธุรกิจต้องมีทีมงานที่มีความอดทน และการเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับที่ดีพอ และต้องมีแรงทุนทรัพย์เป็นตัวผลักดัน ขับเคลื่อน ไม่อย่างนั้นก็เหมือนรถน้ำมันหมด รถสวยออกแบบดีแค่ไหน ไม่มีน้ำมันให้วิ่ง ก็หมดท่าเหมือนกัน
แต่ถ้าพูดถึงการพัฒนาธุรกิจ ต้องเริ่มจากการวางแนวธุรกิจให้โดนใจลูกค้าให้ได้เสียก่อน ถ้าธุรกิจนั้นๆ ยังไม่ใช่คำตอบของลูกค้า ยังไม่ได้มีข้อเด่นเพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้าน ทำให้การที่จะขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ก็เป็นได้ยาก
วันนี้www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 3 กลยุทธ์พื้นฐานของธุรกิจ ก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ เพื่อเป็นแนวทางให้เจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจ นำไปเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนธุรกิจของตัวเองให้เป็นแฟรนไชส์
1.เครื่องหมายการค้า (Brand)
ภาพจาก https://goo.gl/1V28M2
ถือว่าเป็นสินทรัพย์ชิ้นสำคัญของธุรกิจ ในเมืองไทยการตีค่าของแบรนด์ยังไม่สามารถทำได้ เพราะว่าจำนวนแบรนด์สำคัญๆ ยังมีไม่มากนัก และยังขยายตัวอยู่เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีเกณฑ์หรือองค์กรใด กล้าหาญที่จะเข้ามาขันอาสาเป็นผู้ประเมินได้ ในขณะที่ระดับโลก แต่ละปีจะมีการจัดอันดับแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุดของแต่ละประเภทธุรกิจ ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดอันดับ คือ อินเตอร์แบรนด์คอร์ป เจ.พีมอร์แกน และ มอร์แกนสแตนเลย์
โดยบริษัทเหล่านี้ จะทำหน้าที่จัดอันดับมูลค้าแบรนด์ในระดับนานาชาติได้อย่างน่าเชื่อถือ คำว่า แบรนด์ดิ้ง จึงถูกปลุกกระแสให้คนในแวดวงการตลาด หันมาสนใจวิธีการสร้างแบรนด์ เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำ
และเป็นสิ่งแรกที่ลูกลูกค้านึกถึง อย่างเช่น ถ้าพูดถึงร้านไก่ทอดคนจะคิดถึง KFC จดจำรูปผู้พันแซนเดอร์สที่ยืนอยู่หน้าร้าน จะกินสุกี้ต้องไป MK ร้านสะดวกซื้อก็ 7 – ELEVEN เป็นต้น แบรนด์เหล่านี้ถูกวางตำแหน่งอย่างโดดเด่นมาด้วยระยะเวลายาวนาน ผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ
2.การกำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Concept)
เป็นการกำหนดตำแหน่งทางการตลาด การเลือกกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ การดีไซน์ออกแบบร้านที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงการสร้างโมเดลธุรกิจในรูปแบบต่างๆ อย่างเช่น ร้านกาแฟ บางทำเลอาจจะเปิดในห้างสรรพสินค้า บางสาขาเปิดเป็นคีออสในปั๊มน้ำมัน หรือ บางทำเลอาจจะอยู่ในอาคารพาณิชย์ตามชุมชน การเลือกรูปแบบของกิจกรรม และกลยุทธ์ในการสื่อสารการตลาด ก็จะแตกต่างกันตามพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละทำเล
3.สินค้าและบริการ (Product and Service)
ถ้าเป็นธุรกิจอาหาร เมนูต้องสดใหม่ตลอดเวลา สอดรับกับเทรนด์ของผู้บริโภค ที่ให้ความสำคัญกับอาหารแนวสุขภาพมากขึ้น การบริการก็ต้องรวดเร็ว พนักงานพูดจาสุภาพ เป็นที่ถูกในลูกค้า มีแบบสอบถามให้กรอก เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงด้านรสชาติ และบริการ รวมถึงการได้ฐานข้อมูลของลูกค้าใหม่ที่จำเป็นอีกด้วย
ทั้งหมดเป็น 3 กลยุทธ์ธุรกิจที่จำเป็นต้องมี ก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ เพราะจะสามารถบ่งบอกรูปลักษณ์ของธุรกิจให้เห็นชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของสินค้าและบริการ รวมถึงการกำหนดรูปแบบของธุรกิจ จะทำให้รู้ว่าเป็นธุรกิจอะไร และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร เพราะรูปแบบของธุรกิจจะช่วยให้รู้ว่า ธุรกิจนี้ควรตั้งอยู่ในทำเลแบบไหนครับ
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com
สนใจซื้อแฟรนไชส์ http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
อ้างอิงจาก https://bit.ly/38uIugF
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise