กลยุทธ์ขยายสาขา One size fits all ไม่มีอยู่จริง?

ที่ผ่านมาธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะมีโมเดลร้านและรูปแบบการดำเนินธุรกิจเป็นแบบเดียว จะเปิดกี่สาขาก็ใช้รูปแบบนั้นทั่วประเทศ กลยุทธ์ขยายสาขา แบบนี้เรียกว่า One Size Fits All หรือการออกแบบโมเดลร้านครั้งเดียวแล้วใช้รูปแบบโมเดลนั้นในทุกสาขาทั่วประเทศ พอมาปัจจุบันไม่มีโมเดล One Size Fits All อีกต่อไป

ยกตัวอย่างกรณีแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในญี่ปุ่น ตั้งแต่ผลจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้บริษัทแม่ 7-Eleven ยอมให้อิสระมากขึ้นในแต่ละสาขาแฟรนไชส์ ในการออกแบบร้านเพื่อรองรับลูกค้าในท้องถิ่นของตัวเอง โมเดลร้านจะมีหลายแบบ

7-Eleven ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน สังเกตหรือไม่ว่าตั้งแต่ 7-Eleven เปิดสาขาแรกเมื่อปี 2532 ตรงหัวมุมถนนถนนพัฒน์พงศ์ รูปแบบของร้าน 7-Elven จะเป็นอาคารพาณิชย์หรือตกแถว ใช้ห้องด้านล่างออกแบบและตกแต่งเป็นร้าน ตั้งแต่ตอนนั้นมาก็ใช้โมเดล One Size Fits All มาโดยตลอด เราไปที่ไหนก็เห็น 7-Eleven ใต้ตึกแถว ตามถนน ตรอก ซอย ไม่มีพื้นที่จอดรถ

ราคาพื้นที่เช่า

พอมาวันนี้เราได้เห็นร้าน 7-Eleven มีที่จอดรถเป็นลานกว้างๆ หน้าร้าน ส่วนใหญ่โมเดลนี้บริษัทซีพีออลล์จะลงทุนเอง หลายๆ สาขามีที่ชาร์ตรถยนต์ไฟฟ้า มีร้านค้าต่างๆ มาเช่าพื้นที่ขายของ ถือเป็นโมเดลใหม่ 7-Eleven ไม่มี One Size Fits All อีกต่อไป

อีกแบรนด์ที่ไม่ใช้โมเดล One Size Fits All ก็คือ เดอะพิซซ่า คอมปะนี แฟรนไชส์ร้านพิซซ่าในเครือไมเนอร์ฯ แต่ก่อนใช้โมเดลเดียวเปิดร้านขนาดใหญ่ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป มาช่วง 3-4 ปีให้หลัง เราจะเห็นร้านเดอะพิซซ่า คอมปะนี เปิดตามตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ตามถนนและแหล่งชุมชนทั่วไป เป็นร้านขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ร้านโมเดลนี้หวังพึ่งยอดขายจากบริการเดลิเวอรี่

กลยุทธ์ขยายสาขา

Chester’s แฟรนไชส์ไก่ย่าง ไก่ทอดในเครือซีพี แต่ก่อนเราเห็นแต่สาขาในห้าง มาตอนนี้มีสาขานอกห้าง มีสาขาในปั้มน้ำมันบางจาก และปั้มน้ำมัน ปตท. ลูกค้าสามารถซื้อกลับบ้านหรือนั่งกินในร้านได้ด้วย

กลยุทธ์ขยายสาขา

ร้านไก่ย่าง 5 ดาว แต่ก่อนจะเป็นซุ้มส้มๆ แดงๆ มีโมเดล One Size Fits All แบบเดียวกันทั้งประเทศ มาตอนนี้ปรับเป็นร้านอาหารแบบ Shop และ GLASS HOUSE ขนาด 20 ตร.ม. ที่เราเห็นตามหน้า 7-Eleven ทั่วไป

 

แฟรนไชส์ร้านโจ๊กสยาม เปิดร้านโมเดลใหม่ตึกแถว 2 คูหา ที่ถนนอิสรภาพ เดิมเป็นโมเดล 1 คูหา ใช้งบลงทุนเพิ่ม 2 ล้านบาท เปิดร้านวันแรกผลตอบรับจากลูกค้าดีมาก ทำยอดขายได้มากกว่า 450 บิล วันที่ 2 ได้กว่า 500 บิล

กลยุทธ์ขยายสาขาแบบ One Size Fits All ดีอย่างไร

  • ลดความซับซ้อน การขยายสาขารูปแบบเดียวกัน ทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้น ไม่ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
  • ประหยัดต้นทุน มารถลดค่าใช้จ่ายออกแบบ และดำเนินธุรกิจ เพราะใช้ทรัพยากรเหมือนกันในทุกสาขา
  • ความสม่ำเสมอของ ทำให้ลูกค้าได้ประสบการณ์เหมือนกันทุกสาขา
  • ฝึกอบรมและการบริหารจัดการง่าย เพราะใช้หลักสูตรการฝึกอบรมเดียวกันในทุกสาขา
  • สามารถติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละสาขาได้ง่ายขึ้น โดยใช้ตัวชี้วัดและมาตรฐานเดียวกัน

กลยุทธ์ขยายสาขา

กลยุทธ์ขยายสาขาแบบ One Size Fits All มีข้อเสียอย่างไร

  • ไม่ตอบโจทย์ตลาดท้องถิ่น อาจไม่ตอบสนองความต้องการหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
  • ขาดนวัตกรรม การใช้รูปแบบเดียวกันอาจทำให้ขาดการปรับตัว การพัฒนาสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับตลาด
  • ลูกค้ามีตัวเลือกน้อย ในบางพื้นที่ลูกค้าอาจรู้สึกว่ามีแต่รูปแบบเดิมๆ ไม่กระตุ้นให้อยากซื้อ แบรนด์มีโอกาสสูญเสียลูกค้า
  • แข่งขันกับคู่แข่งท้องถิ่น ในกรณีคู่แข่งมีความเข้าใจตลาดท้องถิ่นและปรับตัวได้ดีกว่า อาจทำโมเดลนี้เสียเปรียบ

สรุปก็คือ หลายๆ แบรนด์หันมาปรับกลยุทธ์ขยายสาขาแบบไม่มี One Size Fits All เพราะต้องการตอบโจทย์และเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการขยายสาขาในแต่ละพื้นที่ได้อีกด้วย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช