กรณี (ที่ต้อง) ศึกษา การซื้อคืน 116 สาขาของแฟรนไชส์ Chili’s ในอเมริกา

เชื่อว่าหลายๆ คนอาจไม่รู้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์นอกจากบริษัทแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) จะขายสิทธิ์แฟรนไชส์ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรไชส์ซี) แล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์ยังสามารถขายร้านแฟรนไชส์ที่ตัวเองบริหารอยู่ทั้งหมดให้กับบริษัทแฟรนไชส์ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในการทำธุรกิจ เรื่องนี้ก็เกิดขึ้นแล้วในหลายๆ ประเทศ

แฟรนไชส์ซีสร้างยอดขายได้ดี ถือเป็นการสร้างมูลค่าธุรกิจให้กับร้านแฟรนไชส์ แต่อยู่มาวันหนึ่งแฟรนไชส์ซีเบื่อการทำธุรกิจประเภทนี้ อยากทำธุรกิจอื่นบ้าง ก็ขายร้านคืนให้บริษัทแฟรนไชส์ได้ เรื่องนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะเล่าให้ฟัง

สาขาของแฟรนไชส์

ภาพจาก https://bit.ly/2LUovOG

เมื่อเร็วๆ บริษัทแม่แฟรนไชส์ Chili’s Grill & Bar ในสหรัฐอเมริกาได้ทำการตกลงซื้อสิทธิ์ร้านแฟรนไชส์ 116 สาขา จาก ERJ Dining ซึ่งเป็นผู้รับสิทธิ์ในการบริหารและขยายสาขาแฟรนไชส์ Chili’s Grill & Bar ทางมิดเวสต์ของสหรัฐฯ ซึ่งสาขาแฟรนไชส์เหล่านี้ นอกจาก ERJ Dining แล้วยังมี Junior Bridgeman อดีตนักกีฬาบาสเกตบอล NBA ร่วมบริหารด้วย

ว่ากันว่า Chili’s Grill & Bar ในแต่ละสาขาสามารถสร้างรายได้ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี จึงไม่แปลกที่บริษัทแม่แฟรนไชส์ Chili’s Grill & Bar ต้องการอยากซื้อสิทธิ์ร้านแฟรนไชส์ทั้ง 116 คืน อีกทั้งแฟรนไชส์ซีเหล่านี้ต้องการออกไปทำธูรกิจอื่นๆ เช่น บรรจุขวดโคคา – โคล่า และได้ขยายกิจการไปยังแคนาดาแล้วด้วย

3

ภาพจาก https://bit.ly/2Gf4LSa

ไม่เฉพาะแฟรนไชส์ Chili’s Grill & Bar เท่านั้น ที่บริษัทแฟรนไชส์ซื้อร้านแฟรนไชส์คืนจากแฟรนไชส์ กรณีนี้เคยเกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ KFC มาก่อนแล้ว โดยช่วงทศวรรษ 1980 KFC ได้ขยายธุรกิจเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยเปิดบริการในฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย และใช้เวลาหลายปีในความพยายามที่เจาะตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ไม่เป็นผลเพราะผู้บริหารของ KFC ในขณะนั้น ไม่ได้รับวีซ่าให้เข้าประเทศ ในช่วงนั้น ร้าน KFC ฮ่องกง

และสิงคโปร์บริหารโดยแฟรนไชส์ซี และภายหลัง KFC ก็ซื้อคืนร้านแฟรนไชส์กลับมาครึ่งหนึ่ง เหมือนกับว่า KFC ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เจาะตลาดในประเทศนั้นๆ ที่มีปัญหาให้ ก่อนที่จะซื้อร้านแฟรนไชส์คืนจากแฟรนไชส์ซีนั่นเอง

2

ภาพจาก Chili’s Grill & Bar

วิธีการแบบนี้ นอกจากเป็นผลดีต่อแฟรนไชส์ซอร์แล้วที่ไม่ต้องสร้างตลาดเอง แฟรนไชส์ซียังสามารถขายร้านแฟรนไชส์ในราคาแพงๆ คืนให้กับบริษัทแม่แฟรนไชส์ได้

เพราะร้านสาขาแฟรนไชส์มีมูลค่าแล้ว มีตลาด และลูกค้ารองรับอยู่แล้ว ยิ่งถ้าสร้างยอดขายในแต่ละวันได้ แฟรนไชส์ซีก็สามารถทำเงินจากการขายร้านแฟรนไชส์คืนให้บริษัทแฟรนไชส์ได้


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล
https://bit.ly/2NWhzU2

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gXrJjP

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช