กฎหมายการแข่งขันทางการค้าฯ ในธุรกิจแฟรนไชส์

ปัจจุบัน ธุรกิจแฟรนไชส์ มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากกระแสความนิยมในการมีธุรกิจของตนเอง คนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในการประกอบธุรกิจมากขึ้น

ซึ่งวิธีการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้รวดเร็ว ก็คือ การซื้อแฟรนไชส์ จึงเป็นที่มาของการพิจารณาออกแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์

โดยสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) ได้ดำเนินการจัดงานสัมมนา เรื่อง “กฎหมายการแข่งขันทางการค้าและแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจค้าส่งค้าปลีกและธุรกิจแฟรนไชส์” ภายใต้โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 แก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ได้ตระหนักรู้และระมัดระวังการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560

รายละเอียดของแนวทางกำกับดูแลธุรกิจแฟรนไชส์ ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากการสัมมนามาสรุปให้ทราบครับ

แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์จะแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ 1.หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ต่อแฟรนไชส์ซีก่อนเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์ และ 2.การปฏิบัติทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่แฟรนไชส์ซี โดยมีรายละเอียดดังนี้

แฟรนไชส์ซอร์มีหน้าที่ต่อแฟรนไชส์ซีก่อนเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์ 2 หน้าที่

ธุรกิจแฟรนไชส์

1.แฟรนไชส์ซอร์ต้องเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลให้แฟรนไชส์ซีทราบเกี่ยวกับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ แผนการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์สิทธิในเครื่องหมายการค้า และการต่อ แก้ไข และยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์

2.การขยายสาขาในกรณีที่แฟรนไชส์ซอร์จะเปิดสาขาใหม่เอง แฟรนไชส์ซอร์จะต้องแจ้งให้แฟรนไชส์ซีที่มีสาขาอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงที่สุดทราบและให้สิทธิในการเปิดสาขาใหม่ให้แก่แฟรนไชส์ซีรายนั้นก่อน

ส่วนการปฏิบัติทางการค้าของแฟรนไชส์ซอร์ ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่แฟรนไชส์ซี มีแนวทางพิจารณาดังนี้

3

1. การกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการจำกัดสิทธิของแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น

  • 1.1 การกำหนดให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อสินค้าหรือบริการอื่น ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการแฟรนไชส์หรือสินค้าหรือบริการประกอบแฟรนไชส์จากแฟรนไชส์ซอร์หรือจากผู้ผลิตผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเท่านั้น
  • 1.2 การกำหนดโควตาให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบในปริมาณที่สูงกว่าความต้องการใช้จริงและห้ามคืนสินค้าหรือวัตถุดิบส่วนเกิน

4

2.การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติภายหลังการลงนามในสัญญาร่วมกันแล้ว เช่น กำหนดให้แฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการอื่น หรือกระทำการอย่างอื่น นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควรทางธุรกิจ หรือมีความจำเป็นในการรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานของธุรกิจแฟรนไชส์

การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมดังกล่าวจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยเคยมีกรณีตัวอย่างของร้านจำหน่ายไอศกรีมแห่งหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมประกอบธุรกิจจำหน่ายไอศกรีมในราคาในช่วง 10-100 บาท ต่อมามีผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าแฟรนไชส์บิงซูชื่อดัง

ซึ่งมีราคาขายต่อถ้วยอยู่ที่ 200 บาทขึ้นไปและมียอดจำหน่ายบิงซูที่ดีกว่า ทำให้เกิดผลกระทบต่อยอดขายของแฟรนไชส์ไอศกรีมที่ลดลง จึงเกิดการประชุมหารือของผู้ประกอบธุรกิจไอศกรีมว่าจะลองนำสินค้าบิงซูมาเพิ่มเป็นตัวเลือกใหม่ให้กับลูกค้า เนื่องจากต้องการช่วยเหลือแฟรนไชซีที่มียอดจำหน่ายได้ลดลง

ในกรณีนี้แฟรนไชส์ซอร์ต้องการเพิ่มสินค้าบางอย่างให้กับแฟรนไชส์ซี เพื่อกระตุ้นยอดขายและต้องการส่วนแบ่งตลาดให้การดำเนินธุรกิจสามารถดำรงอยู่นั้น สามารถทำได้ แต่หากจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายบางอย่างจากแฟรนไชส์ซีที่ต้องเป็นผู้จ่ายเพิ่ม จะต้องมาพิจารณากันว่ามีเหตุผลสมควรหรือไม่

หรือเป็นการเสนอแบบบังคับให้แฟรนไชส์ซีเสียค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่ม นอกเหนือจากการที่ได้ทำสัญญากันไว้ ก็อาจเป็นการเข้าข่ายแนวทางพิจารณาข้อนี้ ทั้งนี้ ในกรณีที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องการเพิ่มเติมหรือแก้ไขสัญญา โดยอาจจะเพิ่มธุรกิจหรืออื่นๆ นั้น จะต้องหารือกันด้วยเหตุผล ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าไม่ได้ห้ามการกระทำนี้

หากเกิดจากความจำเป็นในการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ โดยพิจารณาจากการประกอบธุรกิจซึ่งคาดว่ามีความจำเป็นในการต่อสู้ในทางการตลาดกับคู่แข่ง และจากกรณีของไอศกรีมนั้น สามารถทำได้ เนื่องจากเหตุผลของแฟรนไชส์ซอร์อ้างว่ายอดจำหน่ายนั้นลดลง และเป็นการใช้กลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้ทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี

5

3.การห้ามแฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการรายอื่นที่ขายสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเท่าเทียมกันและราคาถูกกว่า โดยให้ซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์หรือจากผู้ผลิตผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเท่านั้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

เช่น วัตถุดิบไข่ไก่ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีที่อยู่จังหวัดกรุงเทพฯ และจังหวัดเชียงใหม่ มีความจำเป็นหรือไม่ที่แฟรนไชส์ซีต้องสั่งซื้อไข่ไก่จากจังหวัดกรุงเทพฯ เพื่อมาประกอบธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไข่ไก่เป็นสินค้าทั่วไป เน่าเสียและแตกง่าย ดังนั้น การกำหนดรายละเอียดในข้อสัญญาบางข้อจึงควรกำหนดรายละเอียดไว้อย่างคร่าวๆ

6

4.การห้ามแฟรนไชส์ซีขายลดราคาสำหรับสินค้าที่เน่าเสียง่าย หรือใกล้หมดอายุโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร โดยการปฏิบัติทางการค้าในลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับธุรกิจเบเกอรี่ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีอายุสั้น ธุรกิจประเภทนี้จะดำเนินการผลิตแต่เช้า และจำหน่ายถึงช่วงเย็น บางวันอาจมีสินค้าที่จำหน่ายไม่หมด และจุดขายของธุรกิจประเภทนี้จะต้องสดใหม่วันต่อวัน

ดังนั้น บางแบรนด์แฟรนไชส์จึงอนุญาตให้สามารถจำหน่ายสินค้าที่ยังจำหน่ายไม่ได้ ในราคาจำหน่ายต่ำกว่าราคาปกติ แต่บางแบรนด์ก็ไม่อนุญาตให้ทำ แม้กระทั่งไม่ให้พนักงานได้ซื้อไว้เอง เป็นการป้องกันพนักงานนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดเป็นการรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

5.การกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

7

6.การกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมอื่นใด ที่มีวัตถุประสงค์นอกเหนือจากการรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียง คุณภาพ และมาตรฐานของแฟรนไชส์ซอร์ตามสัญญา ในกรณีนี้มีตัวอย่างของผู้ประกอบธุรกิจไทยในปัจจุบัน ที่มักจะหาแบรนด์แฟรนไชส์จากต่างประเทศในอันดับที่ 2 -3 ตามแบรนด์แฟรนไชส์อันดับที่ 1 ที่นำเข้ามาแล้วประสบความสำเร็จ แต่ในบางครั้งแบรนด์นั้นอาจยังไม่มีการดำเนินธุรกิจที่แข็งแรงเพียงพอ

และอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการกำหนดเงื่อนไขในสัญญาตัวอย่างเช่น ธุรกิจชานมไข่มุกสัญชาติไต้หวัน ซึ่งมักจะมีการทำแฟรนไชส์ในรูปแบบ Business Format Franchiseมากกว่า Product Franchise ทำให้ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขที่เป็นไปเพื่อรักษาชื่อเสียงและคุณภาพของแบรนด์

อย่างไรก็ตาม ลักษณะเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมที่นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ข้างต้น จะมีลักษณะเช่นการกำหนดให้ต้องซื้อหลอดกระดาษทิชชู่ และอื่นๆ จากประเทศไต้หวัน ซึ่งอาจเป็นเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมที่มักเกิดขึ้น

ถาม-ตอบ กฎหมายการแข่งขันทางการค้าฯ ในธุรกิจแฟรนไชส์

8

1.กรณีที่แฟรนไชส์ซอร์มอบสิทธิให้แฟรนไชส์ซีเปิดสาขาเพิ่มในพื้นที่ที่ได้มอบสิทธิให้แก่แฟรนไชส์ซีรายอื่นแล้วซึ่งในสัญญาได้ระบุชัดเจนว่าจะมีแฟรนส์ซีเพียงรายเดียวในพื้นที่นั้น แฟรนไชส์ซีรายเดิมสามารถฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่?

หากเกิดความเสียหายอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์อันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่แฟรนไชส์ซีตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 แฟรนไชส์ซีซึ่งเป็นผู้เสียหายก็มีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ยังสามารถฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2.แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ มุ่งคุ้มครองแฟรนไชส์ซีเป็นสำคัญหรือไม่?

แนวทางพิจารณาฉบับนี้ได้วางหลักเกี่ยวกับการปฏิบัติการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ทั้งนี้ แฟรนไชส์ซอร์มักจะมีอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าและถูกเอาเปรียบจากแฟรนไชส์ซีได้ค่อนข้างน้อยมาก

3.กรณีข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี จะมีคณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในเบื้องต้นก่อนหรือไม่?

กรณีพิพาทดังกล่าวไม่สามารถตั้งคณะอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในเบื้องต้นและไม่สามารถยอมความได้ทั้งนี้ หากสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว จำเป็นต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย

9

4.กระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนสิ้นสุดลง ผู้เสียหายจะมีสิทธิฟ้องคดีทางแพ่งต่อได้หรือไม่?

ผู้เสียหายยังคงมีสิทธิฟ้องคดีทางแพ่งต่อได้ทั้งกรณีที่คดีที่กระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนสิ้นสุดลงและคดีที่อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียน อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายจะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายรู้หรือควรจะได้รู้ถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหาย มิฉะนั้นสิทธิในการนำคดีสู่ศาลจะมีอันสิ้นไป

5.สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า มีหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่หรือสนับสนุนการดำเนินการในส่วนภูมิภาคหรือไม่?

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร)ที่รับผิดชอบการดำเนินการในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจในส่วนภูมิภาคที่ต้องการแจ้งเรื่องร้องเรียน สามารถประสานงานแจ้งเรื่องร้องเรียนผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัด หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดได้ด้วย

แม้ไทยจะยังไม่มีกฎหมายแฟรนไชส์บังคับใช้ แต่ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้คลอดกฎการค้าที่ไม่เป็นธรรมธุรกิจแฟรนไชส์ โดยได้กำหนดพฤติกรรมที่เป็นข้อห้ามทำไว้ 6 ข้อ เพื่อช่วยสร้างความเป็นธรรมในการทำธุรกิจระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ฝ่ายไหนเอาเปรียบ ร้องเรียนได้ที่ 02-199-5400

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3msnTQW

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช