กฎการขาย 7 ข้อที่คนขายเครื่องสำอางออนไลน์ต้องรู้

เทรนด์ออนไลน์ ที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ได้ทำให้ธุรกิจต่างๆ พากันมุ่งหน้าที่จะบุกขายบนตลาดออนไลน์ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่นิยมเดินซื้อของตามห้างสรรพสินค้าเหมือนแต่ก่อน

เปิดมือถือก็สามารถเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ที่ต้องการได้เลย แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเปิดร้านขายของออนไลน์แล้วประสบความสำเร็จกันทุกคน โดยเฉพาะการขายสินค้าประเภทเครื่องสำอางต่างๆ ที่มีคู่แข่งมากมายอยู่บนโลกออนไลน์ ทั้งพ่อค้าแม่ค้าหน้าเก่า หน้าใหม่

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอเอาใจคนที่อยากเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายออนไลน์ ด้วยการบอก 7 กฎเหล็กการขายเครื่องสำอางออนไลน์ ที่คุณต้องทำหากคิดจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ประสบความสำเร็จ มาดูพร้อมๆ กันเลย

e4

ภาพจาก goo.gl/QwvuCi

1. Display และวิธีการนำเสนอสินค้าสำคัญมาก

อย่างแรกคุณต้องใส่ใจกับวิธีการนำเสนอสินค้าให้ออกมาดี มีความหลากหลายที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ พยายามสร้างเนื้อหาที่สดใหม่ไม่ซ้ำ ถ่ายรูปบ้าง ถ่ายวิดีโอบ้าง สลับๆ วิธีการนำเสนอไป

แล้วหาจุดที่ลูกค้าคุณชอบว่าการนำเสนอแบบไหนมันโดนลูกค้าคุณ แล้วก็พัฒนาตรงจุดนั้น บอกเลยเรื่องพวกนี้เดี๋ยวนี้มันทำได้ไม่ยากแล้ว ถ้าคุณตั้งใจจริงๆ อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือ caption กรุณาคิดใหม่ทุกครั้งที่ทำการโพสต์

2. ตอบกลับลูกค้าให้เร็ว

การขายของออนไลน์โดยเฉพาะสินค้าเครื่องสำอาง ต้องตอบลูกค้าให้เร็ว เร็วในที่นี่หมายถึง “เร็วที่สุด” ถ้าทันทีได้จะดีมาก จงจำไว้ธุรกิจขายครีมในเมืองไทย เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงที่สุดแล้ว

e5

ภาพจาก goo.gl/tFI4s9

3. อย่ารับตัวแทนจำหน่ายมั่ว

วางตำแหน่งตัวเองให้ถูกว่า จะทำธุรกิจแบบไหน จะเน้นขายปลีก จะเน้นขายส่ง จะเน้นรับตัวแทน ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัด จะขายปลีก หรือจะรับตัวแทนวางแผนให้ดีๆ

เพราะถ้าคุณวางแผน หรือ ระบบการทำงานไม่ดี สุดท้ายตัวแทนก็จะแย่งลูกค้ากันเอง และ แย่งลูกค้าของตัวคุณเอง ตัวแทนก็ขายไม่ได้ คุณก็ขายไม่ได้ แย่ไปตามกันหมด

4. หาจุดขายของแบรนด์ให้ได้

คุณต้องหาจุดขายของคุณให้ได้ว่า ทำไมลูกค้าจะต้องซื้อครีมร้านคุณ จุดขายที่มากกว่า แค่บอกว่าสรรพคุณสินค้าคุณดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ หรือ รีวิวมากๆ เพราะเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ทำแบบนั้นได้

และที่สำคัญลูกค้าเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ดูแค่เรื่องพวกนี้เพียงอย่างเดียว บางครั้งเขาจะดูที่ความคุ้มค่า และประโยชน์ที่เขาจะได้รับ การส่งมอบรวดเร็วเป็นสำคัญ

e7

ภาพจาก goo.gl/Tzl2mh

5. ต้องใช้เว็บไซต์ช่วยขายให้ได้

บางร้านมีสินค้าเป็น 100 ชนิด คำถามคือคุณจะเอาสินค้าทั้งหมดมาโพสต์ในเพจ IG หรือ FB ให้ลูกค้าได้เห็นและหาสินค้าได้ง่ายๆ คำตอบคือมันเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นรูปแบบการทำการตลาดยุคใหม่

คือ เอาเพจไว้สร้างแบรนด์ ถ้าอยากดูสินค้าไปที่เว็บเลย รับรองว่าดีกว่าเยอะ ออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้สวยงาม ทำให้คนอยากคลิกเข้ามา

6. สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างเพจของคุณกับลูกค้าของคุณให้ได้

ยิ่งคุณทำให้คนที่กด like เพจของคุณคอยติดตามเพจคุณอย่างต่อเนื่องได้ นั่นก็แปลว่า คนเหล่านี้ยังไงก็มีความสนใจในสินค้าคุณอยู่ เพียงแต่อาจจะยังไม่ซื้อด้วยสาเหตุบางอย่าง แต่ถ้าถึงวันใดวันหนึ่ง ที่เขาจะซื้อแล้ว คุณยังเป็นเพจที่เขาติดตามอยู่ตลอด โอกาสที่จะทำให้คุณได้ลูกค้าใหม่ก็มีสูงมาก

e6

ภาพจาก goo.gl/GIfxxf

7. ใช้สื่อในการทำงานให้หลากหลาย

Facebook, IG, Line หรือ เว็บไซต์ ยิ่งคุณสามารถใช้สื่อเหล่านี้ได้มาก ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คุณหาลูกค้าเพิ่ม ส่วนใหญ่พวกเราทุกคนมีแพลตฟอร์ม Social Network ตัวหลักๆ ที่เล่นทุกวันแทบทุกคนแหละ แต่ใช้ทุกอันมันไม่เท่ากัน บางคนเน้นเล่น Instagram บางคนเล่นแต่ line บางคนสมัครไว้ทุกอันแต่ใช้เฉพาะ Facebook บางคนชอบซื้อของในเว็บ

เพราะฉะนั้นการที่เรามีสื่อที่หลากหลาย ก็จะยิ่งทำให้ฐานลูกค้าเรากว้างขึ้นครับ แต่ห้ามลืมกฎข้อสำคัญคือ มีแล้วต้องดูแลให้ได้ เพราะถ้าคุณสร้างของพวกนี้มาแล้วปล่อยทิ้งร้าง หรือ เนื้อหาไม่น่าสนใจมันจะยิ่งส่งผลเสียต่อธุรกิจคุณได้

เห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้มันหมดยุคแล้วที่การขายของออนไลน์มันง่ายๆ แบบพอคุณลงโฆษณาปุ๊บ ลูกค้าเห็นโฆษณาคุณปั๊บ แล้วซื้อสินค้าคุณทันที พูดตรงๆ ว่า เดี๋ยวนี้ไม่มีลูกค้าแบบนั้นแล้ว

การขายของออนไลน์บางครั้งต้องมีรายละเอียดเยอะแยะมากกว่าหน้าร้าน Store ทั่วไป ที่ลูกค้าได้เห็นสินค้าจริงๆ อยากขายของได้ต้องปรับตัวให้พฤติกรรมผู้บริโภค

ใครอยากเปิดร้านค้าออนไลน์ คลิกเปิดร้านฟรีๆ ได้ที่ : goo.gl/zg2rS3


Tips

  1. Display และวิธีการนำเสนอสินค้าสำคัญมาก
  2. ตอบกลับลูกค้าให้เร็ว
  3. อย่ารับตัวแทนจำหน่ายมั่ว
  4. หาจุดขายของแบรนด์ให้ได้
  5. ต้องใช้เว็บไซต์ช่วยขายให้ได้
  6. สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างเพจของคุณกับลูกค้าของคุณให้ได้
  7. ใช้สื่อในการทำงานให้หลากหลาย

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช